เมนู

8. เรื่องพ่อค้ามีทรัพย์มาก [211]



ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้ามีทรัพย์
มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อิธ วสฺสํ " เป็นต้น.

พ่อค้าไม่ทราบความตายที่จะมาถึงตน


ดังได้สดับมา พ่อค้านั้นบรรทุกผ้าซึ่งย้อมด้วยดอกคำ จนเต็มเกวียน
500 เล่ม จากกรุงพาราณสีแล้ว มาสู่กรุงสาวัตถีเพื่อค้าขาย. เขาถึงฝั่ง
แม่น้ำแล้ว คิดว่า " พรุ่งนี้เราจึงจักข้ามแม่น้ำ" ปลดเกวียนแล้วพักอยู่ที่
ฝั่งนั้นนั่นแล. ตอนกลางคืน มหาเมฆตั้งขึ้นแล้วยังฝนให้ตก. แม่น้ำเต็ม
ด้วยน้ำได้ทรงอยู่ตลอด 7 วัน. ถึงในพระนคร พวกชนก็เล่นนักษัตรกัน
ตลอด 7 วัน. กิจด้วยผ้าซึ่งย้อมด้วยดอกคำไม่มี. พ่อค้าจึงคิดว่า " เรา
มาสู่ที่ไกล, ถ้าเราจักไปอีก, ความเนิ่นช้าก็จักมี, เราจักอยู่ทำการงาน
ของเราในที่นี้แหละ ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน แล้วขายผ้า
เหล่านี้."
พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนคร ทรงทราบจิต
(ความคิด) ของเขาแล้ว ทรงทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ, พระอานนทเถระ
ทูลถามเหตุแห่งการทรงยิ้มแย้ม จึงตรัสว่า " อานนท์ เธอเห็นพ่อค้ามีทรัพย์
มากหรือ ?"
อานนท์. เห็น พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เขาไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของตน จึงได้ตั้งจิตเพื่ออยู่
ขายสิ่งของในที่นี้แหละตลอดปีนี้.

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อันตรายจักมีแก่เขาหรือ ?
พระศาสดาตรัสว่า " เออ อานนท์ เขาเป็นอยู่ได้ตลอด 7 วัน
เท่านั้น ก็จักตั้งอยู่ในปากแห่งมัจจุ (ตาย) " ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิต
พระคาถาเหล่านี้ว่า :-
" ความเพียรเครื่องเผากิเลส ควรทำในวันนี้
ทีเดียว, ใครพึงรู้ได้ว่า ' ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้,'
เพราะว่า ความผัดเพี้ยนด้วยความตาย ซึ่งมีเสนา
ใหญ่นั้น ไม่มีเลย.' มุนี้ผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มี
ปกติอยู่อย่างนั้น มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ตลอด
กลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ' ผู้มีราตรีเดียว
เจริญ.
1"
อานนท์. ข้าพระองค์จักไปบอกแก่เขา พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อานนท์ เธอคุ้นเคยกัน ก็ไปเถิด.
พระเถระไปสู่ที่แห่งเกวียนแล้วเที่ยวไปเพื่อภิกษา. พ่อค้าต้อนรับ
พระเถระด้วยอาหาร. ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะพ่อค้านั้นว่า " ท่าน
จักอยู่ในที่นี้ ตลอดกาลเท่าไร ? "
พ่อค้า. ท่านผู้เจริญ ผมมาแต่ที่ไกล, ถ้าจักไปอีก, ความเนิ่นช้า
จักมี; ผมจักอยู่ในที่นี้ตลอดปีนี้ ขายสิ่งของ (หมด) แล้วจักไป.
อานนท์. อุบาสก อันตรายแห่งชีวิตรู้ได้ยาก, การทำความไม่
ประมาท จึงจะควร.
1. ม. อุปริ. 14/348.

พ่อค้า. ท่านผู้เจริญ ก็อันตรายจักมีหรือ ?
อานนท์. เออ อุบาสก, ชีวิตของท่านจักเป็นไปได้ตลอด 7 วัน
เท่านั้น.
เขาเป็นผู้มีใจสังเวชแล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ถวายมหาทานตลอด 7 วัน แล้วรับมาตรเพื่อประโยชน์แก่การ
อนุโมทนา.

คนเขลาย่อมไม่รู้อันตรายแห่งชีวิต


ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ตรัสว่า
" อุบาสก ธรรมดาบัณฑิตคิดว่า ' เราจักอยู่ในที่นี้นี่แหละตลอดฤดูฝน
เป็นต้น, จักประกอบการงานชนิดนี้ ๆ' ย่อมไม่ควร, ควรคิดถึงอันตราย
แห่งชีวิตของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
8. อิธ วสฺสํ วสิสิสามิ อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ
อิติ พาโล วิจินฺเตติ อนฺตรายํ น พุชฺฌติ.

" คนพาลย่อมคิดว่า ' เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดู
ฝน, จักอยู่ในที่นี้ ในฤดูหนาวและฤดูร้อน ' หารู้
อันตรายไม่."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วสฺสํ ความว่า เราจักอยู่ทำการ
งานชนิดนี้ ๆ ในที่นี้ ตลอดฤดูฝน 4 เดือน.
บทว่า เหมนฺตคิมฺหิสุ ความว่า คนพาลผู้ไม่รู้ประโยชน์อันเป็นไป
ในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า " เราจักอยู่ทำการงาน
ชนิดนี้ ๆในที่นี้นี่แหละ ตลอด 4 เดือน แม้ในฤดูหนาวและฤดูร้อน."